สังคมของไทย

สังคมไทย

สังคมไทยมีลักษณะเป็นเอกสังคม ประกอบด้วยคนเชื้อชาติและสัญชาติไทยอยู่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ ในปีพ.ศ. 2536 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 58 ล้านคนและปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจึงประสบปัญหาการเพิ่มจำนวนของประชากร

ลักษณะของสังคมไทย

1. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น โดยยึดจากฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เป็นสังคมที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก
4. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์และระเบียบ ขาดระเบียบวินัย
5. พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อความเชื่อและการดำเนินชีวิต
6. เป็นสังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง

โครงสร้างสังคมเมืองและสังคมชนบท

ลักษณะสังคมชนบท

1. ประชากรมีจำนวนมากอยู่อย่างกระจัดกระจาย
2. การศึกษาต่ำ ฐานะยากจน
3. มีรายได้น้อย และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
4. การปกครองส่วนภูมิภาค มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย
5. เป็นสังคมชาวพุทธ พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อและนับถือในโชคลาง
6. มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดส่วนตัว และเป็นกันเอง

ลักษณะสังคมเมือง

1. ประชากรมีจำนวนมากและอยู่อย่างหนาแน่น
2. เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญ
3. เป็นศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมเมืองมีลักษณะเป็นทุติยภูมิ
5. มีรายได้รายจ่ายสูง เศรษฐกิจดีและประกอบอาชีพหลากหลายชนิด

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบท

1. สาเหตุภายใน ได้แก่ การเกิด การตาย การย้ายถิ่น
2. สาเหตุภายนอก ได้แก่ การศึกษา การคมนาคม การสื่อสาร เป็นต้น

ค่านิยมของสังคมไทย

ค่านิยมทางสังคม หมายถึง รูปแบบความคิดที่คนส่วนใหญ่ยึดถือและปฏิบัติร่วมกันเพราะเป็นสิ่งมีคุณค่า ถูกต้องเหมาะสมและดีงามควรปฏิบัติ

ที่มาของค่านิยมของสังคมไทย

1. รับจากศาสนาพุทธผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์
2. รับจากสังคมดั้งเดิม คือ ระบบศักดินา เช่น การนับถือเจ้านาย ยศถาบรรดาศักดิ์
3. รับจากระบบสังคมเกษตรกรรม เช่น ความเฉื่อย ขาดความกระตือรือร้น
4. รับจากความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ โชคลาง

ค่านิยมของสังคมชนบท

1. นับถือเรื่องกรรมเก่า บุญวาสนา
2. เชื่อถือโชคลาง
3. ยกย่องและนับถือผู้มีคุณงามความดี
4. ขี้เกรงใจคน ไม่โต้แย้ง เห็นแก่หน้า
5. ชอบสันโดษ
6. นิยมเครื่องประดับประเภทเพชรนิลจินดา ทอง
7. ชอบเสี่ยงโชค
8. นิยมทำบุญตักบาตรและพิธีการต่าง ๆ เกินกำลัง
9. นิยมช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยก่อนและช่วยเหลือกัน
10. หวังผลเฉพาะหน้า เช่น สนใจเฉพาะผลผลิตปีนี้โดยไม่นึกถึงในอนาคตข้างหน้า

ค่านิยมของสังคมเมือง

1. ไม่เชื่อเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ มีเหตุผลในการตัดสินใจ
2. มีการแข่งขันกันสูง
3. ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรูหรา
4. เห็นแก่ตัวไม่ช่วยเหลือกัน
5. นิยมของใช้ตะวันตก เช่น การแต่งกาย
6. มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนและแน่นอน

ค่านิยมของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง

1. ค่านิยมความเฉื่อย เพราะขาดความกระตือรือร้น
2. ไม่ตรงต่อเวลาในการนัดหมาย
3. ขาดระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต
4. ชอบเสี่ยงโชคลาภ เช่น การพนัน ลอตเตอรี่
5. ไม่กล้าเสี่ยงในการประกอบอาชีพ
6. ชอบความสะดวกสบาย แต่งกายภูมิฐาน มีรถยนต์ราคาแพงขับ เพื่อให้คนอื่นยอมรับความสำคัญของตนเอง

การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มสังคมไทย

การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีสภาพแตกต่างไปจากเดิม

การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม เช่น การเมือง การปกครอง การศึกษา สถานภาพ บทบาท จำนวนประชากร เป็นต้น
  2. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมของสังคมที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ ทั้งที่เป็นประโยชน์หรือโทษ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย

1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
2. การเพิ่มของประชากร
3. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
4. การติดต่อกับสังคมภายนอก
5. นโยบายของผู้นำในสังคม
6. ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการของสังคม

 

อ้างอิง : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/human_society/05.html